ReadyPlanet.com
bulletแอร์ CARRIER
bulletแอร์ CENTRAL
bulletแอร์ DAIKIN
bulletแอร์ EMINENT
bulletแอร์ FUJITSU
bulletแอร์ FOCUS
bulletแอร์ Haier
bulletแอร์ PANASONIC
bulletแอร์ LG
bulletแอร์ MITSUBISHI
bulletแอร์ MITSUBISHI
bulletแอร์ Midea
bulletแอร์ MITSUI
bulletแอร์ SAMSUNG
bulletแอร์ SHARP
bulletแอร์ STAR AIRE
bulletแอร์ TCL
bulletแอร์ TRANE
bulletแอร์ TOSHIBA
bulletแอร์ UNI AIRE
bulletแอร์ YORK
bulletแอร์เคลื่อนที่
bulletม่านอากาศ
bulletเครื่องทำน้ำเย็น
bulletเครื่องฟอกอากาศ
bulletเครื่องทำน้ำอุ่น
bulletแอร์มุ้ง
ไลน์ เพิ่มเพื่อน
dot
พัดลมดูดอากาศ Ventilators Fan
dot
bulletMITSUBISHI แบบติดผนัง
dot
เครื่องใช้ไฟฟ้า,บริการผ่อน
dot
bulletแอร์เก่าของคุณมีค่า
bulletกล้องวงจรปิด CCTV
bulletแอร์ตั้งพื้น 13-24000BTU
bulletผ่อนแอร์10งวด 0%
bulletเครื่องซักผ้า Panasonic
bulletเครื่องทำน้ำอุ่น Panasonic
bulletSite Reference
dot
dot
bulletยินดีต้อนรับ ร้านค้าผู้จำหน่าย
bulletChat Online
bulletTechnology IT
bulletนานา สาระน่ารู้
bulletsite map
bulletรายชื่อขนส่งสินค้า ไปต่างจังหวัด
bulletช่างประจำเขต
bulletโปรโมชั่น
bulletบิล 2021
dot
dot
dot
ร้านค้าสมาชิก ท๊อปคูลแอร์
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


ยินดีรับบัตรเครดิตทุกธนาคาร
บริการชำระด้วยบัตรเครดิต ถึงสถานที่ติดตั้ง สะดวกสบาย
รับสมัครงาน  พนักงานขาย  ช่างติดตั้ง


ความรู้เกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศ article

จากสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นมีอุณหภูมิสูงสุดในบางช่วงเวลาของปีในแต่ละพื้นที่โดยรวมที่จัดว่าสูง บางครั้งเกิดสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว การสร้างภาวะน่าสบายด้วยอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า นับเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายในอาคารบ้านเรือน และเครื่องปรับอากาศก็เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมและพบว่ามีการใช้งานคู่กับอาคารบ้านเรือนในประเทศไทยอยู่เสมอ

อย่างไรก็ตาม เครื่องปรับอากาศยังถูกพบว่าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ามากที่สุดในอาคาร ประมาณการว่าปริมาณไฟฟ้ากว่าร้อยละ 60 ของการใช้ไฟฟ้าในอาคาร ได้แก่ บ้านพักอาศัย ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ โรงพยาบาล โรงแรม ฯลฯ เกิดจากการใช้เครื่องปรับ อากาศ โดยมีอัตราการใช้เพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 10 ต่อปี ด้วยเหตุนี้จึงควรเอาใจใส่และควรเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงและมีการใช้งานให้เหมาะสมกับขนาดห้อง

การศึกษาหาความรู้และข้อมูลพื้นฐานของเครื่องปรับอากาศ ก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจในหลักการทำงานของระบบปรับอากาศก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศมาใช้งาน โดยมีสาระที่น่าสนใจดังนี้

1. อุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศของบ้านพักอาศัย ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ที่สำคัญ 9 ส่วน ดังนี้ 

1. แผงท่อทำความเย็น        (Cooling Coil)
2. คอมเพรสเซอร์               (Compressor)
3. แผงท่อระบายความร้อน (Condenser Coil)
4. พัดลมส่งลมเย็น            (Blower)
5. พัดลมระบายความร้อน   (Condenser Fan)
6. แผ่นกรองอากาศ             (Air Filter)
7. หน้ากากเครื่องที่มีแผ่นเกล็ดกระจายลมเย็น (Louver)
8. อุปกรณ์ควบคุมสำหรับการเปิด-ปิดเครื่อง ตั้งค่าอุณหภูมิห้องตั้งความเร็วของพัด
ลมส่งลมเย็น ตั้งเวลาการทำงานของเครื่อง เป็นต้น อุปกรณ์ควบคุมนี้อาจติดตั้งอยู่ที่ตัวเครื่องปรับอากาศเอง หรือแยกเป็นอุปกรณ์ต่างหากเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการควบคุมระยะไกล (Remote Control)  จากบริเวณอื่นๆ ภายในห้องปรับอากาศ
9. อุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็น (Metering Device) 

2. หลักการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
วัฎจักรการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ เริ่มตั้งแต่ผู้ใช้เปิดเครื่องปรับอากาศ สารทำความเย็น ซึ่งเป็นของเหลว
(ไม่มีสี กลิ่นและรส) ในปริมาณที่พอเหมาะจะไหลผ่านอุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็นเข้าไปยังแผงท่อทำความเย็นซึ่งติดตั้งอยู่ภายในห้องพัดลมส่งลมเย็นจะดูดอากาศร้อนและชื้นภายในห้องผ่านแผ่นกรองอากาศ ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านหน้าของแผงท่อทำความเย็น เพื่อกรองเอาฝุ่นละอองขนาดใหญ่ออกไป  จากนั้นอากาศร้อนชื้นจะคายความร้อนให้แก่สารทำความเย็นภายในแผงท่อทำความเย็น ทำให้มีอุณหภูมิและความชื้นลดลงและถูกพัดลมส่งลมเย็นกลับเข้ามาสู่ห้องอีกครั้งหนึ่ง โดยผ่านแผ่นเกล็ดกระจายลม เพื่อให้ลมเย็นแพร่ไปสู่ส่วนต่างๆ ของห้องอย่างทั่วถึง สำหรับสารทำความเย็นเหลวภายในแผงท่อทำความเย็น เมื่อได้รับความร้อนจากอากาศภายในห้องจะระเหยกลายเป็นไอ และไหลเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ ซึ่งไอที่ได้นี้จะถูกส่ง ต่อไปยังแผงท่อระบาย

ความร้อนซึ่งติดตั้งอยู่นอกอาคาร พัดลมระบายความร้อนจะดูดอากาศ ภายนอกมาระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ทำให้ไอสารทำความเย็นกลั่นตัวกลับเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง และไหลออกจากแผงท่อระบายความร้อนไปสู่อุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็นวนเวียนเป็นวัฎจักรเช่นนี้ตลอดเวลา จนกว่าอุณหภูมิในห้องจะถึงระดับที่ตั้งไว้ อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิก็จะส่งสัญญาณให้เครื่องคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานชั่วขณะหนึ่ง จึงประหยัดไฟฟ้าส่วนที่ป้อนให้คอมเพรสเซอร์ทำงานได้ แต่พัดลมส่งลมเย็นยังคงทำหน้าที่ส่งลมให้ภายในห้อง จนเมื่ออุณหภูมิในห้องให้คอมเพรสเซอร์ทำงานโดยอัดสารทำความเย็นป้อนเข้าไปในแผงท่อทำความเย็นใหม่ดังนั้นถ้าเพิ่มสูงกว่าระดับที่ตั้งไว้อุปกรณ์ควบคุมก็จะส่งสัญญาณ ไม่ให้เย็นจนเกินไป ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟได้ ซึ่งตามปกติควรตั้งไว้ที่
25 C  

3. ประเภทของเครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านทั่วไป  มักมีขนาดการทำความเย็นระหว่าง 9,000- 30,000 บีทียู/ชม. (Btu/h) หรือ 0.75-2.5 ตันความเย็น (1 ตันความเย็น = 12,000 บีทียู /ชม.) เครื่องที่นิยมใช้กันมี 2 ชนิด คือ

เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
(split Type)   
 ตัวเครื่องแบ่ง เป็น 2 ส่วน คือ

                1.)  ส่วนที่อยู่ภายในห้องเรียกว่า แฟนคอยล์ยูนิต (Fan Coil Unit) มีหน้าที่ทำความเย็น ประกอบด้วยพัดลมส่งลมเย็น แผ่นกรองอากาศ หน้ากากพร้อมเกล็ด     กระจายลมเย็น
                2.)  อุปกรณ์ควบคุมที่ติดตั้งภายนอกห้อง เรียกว่า คอนเดนซิ่งยูนิต (Condensing Unit) ประกอบด้วยคอมเพรสเซอร์แผงท่อระบายความร้อนและพัดลมระบายความร้อนทั้งสองส่วนเชื่อมต่อกันด้วยท่อสารทำความเย็น

      เครื่องแบบนี้นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับบ้านเดี่ยวตามหมู่บ้าน บ้านชานเมือง บ้านในเมืองหรือตึกแถว ซึ่งมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต ตัวแฟนคอยล์ยูนิต โดยมีทั้งแบบติดเพดาน ติดผนัง หรือแบบตั้งพื้น เครื่องแบบติดเพดานเหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่ หรือเป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ค่อนข้างยาว หรือไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งบนพื้นห้อง เครื่องแบบติดผนังเหมาะกับห้องทั่วไป ลักษณะห้องค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ส่วนเครื่องตั้งพื้นนั้นเหมาะกับห้องขนาดเล็ก เช่น ห้องนอนขนาดเล็กหรือห้องรับแขกขนาดเล็ก

เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง
(Window Type)

               มีขนาดตั้งแต่ 9,000-24,000 บีทียู/ชม. เหมาะสำหรับอาคารที่เป็นตึกแถว หรือทาวน์เฮาส์ ซึ่งไม่อาจติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิตได้เพราะไม่มีสถานที่ติดตั้ง หรือสถานที่นั้นไม่เพียงพอ เช่น ความกว้างของกันสาดแคบเกินไป มักติดเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง ที่วงกบช่องแสงเหนือบานหน้าต่างห้อง

ภาพแสดงตัวอย่างของเครื่องปรับอากาศรูปแบบต่างๆ

เครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง

     เครื่องปรับอากาศเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าสูงมาก ดังนั้นการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ จึงควรคำนึงถึงค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยพิจารณาได้จาก

1. ฉลากประหยัดไฟ  ให้ข้อมูลที่ชัดเจนทั้งในด้านประสิทธิภาพ การใช้ไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายเป็นปี
2. Energy  Efficiency  Ratio (EER) เป็นค่าแสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ  ควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER เท่ากับ 10.6 หรือมากกว่า  ค่า  EER ยิ่งสูงยิ่งประหยัด


ในคู่มือหรือฉลากของเครื่องปรับอากาศ จะมีขนาดของเครื่องทำความเย็นระบุเป็น บีทียู
/ชั่วโมง หรือตัน กำลังไฟฟ้าที่บอกจำนวนวัตต์ที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ต้องใช้และถ้าเป็นระบบแยกส่วนต้องรวมกำลังไฟฟ้าของเครื่องภายในห้องและคอมเพรสเซอร์ภายนอกห้องเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้จำนวนวัตต์ทั้งหมดที่ต้องใช้ในการคำนวณหาค่า EER ตามสูตรด้านล่างนี้


EER =  ขนาดทำความเย็น (BTU/hr)/ กำลังไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมด (วัตต์)

การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศประหยัดพลังงาน

  •  ศึกษาหลักการทำงานเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของเครื่องปรับอากาศในแต่ละรุ่น

  • เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่ ได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  

  • เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่ติดฉลากแสดงว่ามีประสิทธิภาพ และรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง
     -  เครื่องปรับอากาศขนาดไม่เกิน 25,000 บีทียู/ชม. ควรเลือกซื้อเครื่องที่ ติดฉลากแสดงค่า
    ประสิทธิภาพหมายเลข 5
     -  เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่กว่า
    25,000 บีทียู/ชม.ควรเลือกซื้อเครื่องที่มีการใช้ไฟไม่เกิน 1.40 กิโลวัตต์ต่อ 1 ตันความเย็นหรือมีค่า EER (Energy Efficiency Ratio) ไม่น้อยกว่า 8.6 บีทียู ชม./วัตต์ โดยดูรายละเอียดได้จากผู้จำหน่าย

  • มีคู่มือการใช้งานเพื่อการประหยัดพลังงานและการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ

  • เลือกขนาดให้เหมาะสมกับขนาดของครัวเรือน  และพื้นที่ใช้สอย
     -  เลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับพื้นที่ห้องโดยทั่วไป โดยขนาดความสูงของห้อง
    ปกติสูงไม่เกิน 3 เมตร ควรเลือกดังนี้
             พื้นที่     13-15   ตร..    ควรใช้ขนาด         8,000  บีทียู
             พื้นที่     16-17   ตร..    ควรใช้ขนาด       10,000  บีทียู
             พื้นที่          20   ตร..    ควรใช้ขนาด       12,000   บีทียู
             พื้นที่     23-24   ตร..    ควรใช้ขนาด       14,000  บีทียู
             พื้นที่          30   ตร..    ควรใช้ขนาด       18,000   บีทียู
             พื้นที่          40   ตร..    ควรใช้ขนาด       24,000   บีทียู

    -
    หรือเลือกโดยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้งานต่าง ๆ  ของเครื่องปรับอากาศที่ใช้ทำความเย็นให้แก่ห้องต่างๆ ภายในบ้าน โดยเฉลี่ย ความสูงของห้อง โดยทั่วไปที่ 2.5-3 เมตร อาจประมาณคร่าวๆ จากค่าต่อไปนี้

              ห้องรับแขก ห้องอาหาร ประมาณ 15 ตร../ตันความเย็น
              ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นหลังคา ประมาณ 20 ตร../ตันความเย็น
              ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นพื้นของอีกชั้นหนึ่ง ประมาณ 23 ตร../ตันความเย็น

การใช้เครื่องปรับอากาศให้มีการประหยัดพลังงาน

  • ศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด ทำความเข้าใจถึงหลักการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า

  • ปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้งานเพื่อการประหยัดพลังงานอย่างเคร่งครัด 

                   การปรับปรุงอาคารก่อนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
                  เพื่อให้เครื่องปรับอากาศที่ซื้อมาสามารถทำความเย็นได้อย่างเต็มที่และประหยัด พลังงาน ควรมีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบตัวบ้านและห้องที่จะติดตั้ง ดังนี้
                   1. หากห้องที่ทำการปรับอากาศมีกระจกส่วนใหญ่หันไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตกหรือทิศใต้ ควรปลูกต้นไม้ใหญ่บังแดดให้ผืนกระจก นอกจากนี้ต้นไม้ยังทำให้ อากาศนอกอาคารมีอุณหภูมิต่ำลง ช่วยลดปริมาณความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ห้องอีกด้วย
                  2. หากไม่สามารถปลูกต้นไม้ได้ ควรติดตั้งกันสาดที่ด้านนอกอาคารหรือติดผ้าม่านหรือมู่ลี่สีอ่อนที่สามารถปรับมุมใบเกล็ดไว้ด้านหลังกระจกด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตกและ ทิศใต้ เพื่อป้องกันมิให้แสงแดดส่องผ่านแผ่นกระจกเข้ามาในห้อง
                  3. เหนือฝ้าเพดานที่เป็นหลังคา หากสามารถปูแผ่นใยแก้วที่มีความหนา 1 นิ้ว ชนิดมี
 แผ่นฟอยล์ (Aluminum Foil) หุ้มแผ่นใยแก้วไว้ทั้งหมดเหนือแผ่นฝ้า จะช่วยลดการส่งผ่านรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์เข้าสู่ห้องที่มีการปรับอากาศได้   
                 4. พัดลมระบายอากาศของห้องอาหาร ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ที่มีการปรับอากาศต้องมีขนาดไม่เกิน 6 นิ้ว และเปิดเฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เช่น เพื่อระบายกลิ่นอาหาร หรือควันบุหรี่ เพื่อป้องกันมิให้มีการดูดเอาอากาศเย็นภายในห้องทิ้งออกไปมากเกินควร ทำให้ห้องไม่เย็น และเครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก ควรสูบบุหรี่    นอกห้องปรับอากาศ เพื่อป้องกันมิให้อากาศภายในห้องสกปรก
                 5. ภายในห้องนอนไม่ควรติดตั้งพัดลมระบายอากาศ หากมีห้องน้ำติดกับห้องนอน อาจ
ติดพัดลมระบายอากาศที่มีขนาดไม่เกิน 6 นิ้วไว้ภายในห้องน้ำก็ได้ แต่ควรเปิดเฉพาะ เมื่อมีการใช้ห้องน้ำเท่านั้น
                 6. ควรอุดรูรั่วรอบห้องให้สนิท เพื่อป้องกันมิให้อากาศร้อนภายนอกรั่วซึมเข้าสู่ห้อง หน้าต่างบานเกล็ด ไม่ว่าจะเป็นบานเกล็ดไม้หรือเกล็ดกระจก มักมีช่องว่างระหว่าง แผ่นเกล็ดมาก ควรแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่
                7. ควรทาสีผนังภายนอกอาคารด้วยสีขาวหรืออ่อน จะช่วยลดการนำความร้อนผ่านผนังได้ดี

               
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
                การติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ผิดวิธี โดยเฉพาะในเครื่องแบบแยกส่วน นอกจากจะทำให้เครื่องทำความเย็นได้น้อยลงแล้ว ยังสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นอีกด้วย จึงควรให้ความสนใจดังรายละเอียดต่อไปนี้

                1.
ควรติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต และคอนเดนซิ่งยูนิตของเครื่องแบบแยกส่วนให้ใกล้กัน
มากที่สุด จะทำให้เครื่องไม่ต้องทำงานหนักในการส่งสารทำความเย็นให้ไหลไปตามท่อ ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการเดินท่อและหุ้มฉนวนตลอดจนลดโอกาสการรั่วของสารทำความเย็น
                2.
หุ้มท่อสารทำความเย็นจากคอนเดนเซอร์ไปยังแผงท่อทำความเย็น (Cooling Coil) ของเครื่องแบบแยกส่วนด้วยฉนวนที่มีความหนาประมาณ 0.5 นิ้ว หรือตามที่ผู้ผลิตแนะนำ เพื่อป้องกันมิให้มีสารทำความเย็นภายในท่อแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศภายนอกตามเส้นท่อ
                3.
ตำแหน่งติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต(หรือเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง)ควรอยู่ในที่ร่มไม่ถูกแสง
แดดโดยตรง แต่อากาศภายนอกสามารถถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรอยู่ในที่อับลม หรือคับแคบ ที่ว่างโดยรอบเครื่องต้องเพียงพอตามที่ผู้ผลิตแนะนำ
               4.
ในสถานที่ซึ่งมีการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต (หรือเครื่องแบบหน้าต่าง)หลายๆชุด 
ต้องระวังอย่าให้ลมร้อนที่ระบายออกจากเครื่องชุดหนึ่งเป่าเข้าหาเครื่องอีกชุดหนึ่ง ควรให้ลมร้อนจากแต่ละเครื่องเป่าออกได้โดยสะดวก
               5. ในบางสถานที่ซึ่งมีลมพัดแรงตลอดเวลาในทิศทางเดียว ควรติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง) ให้อากาศร้อนระบายออกจากตัวเครื่องอยู่ในทิศเดียวกับ กระแสลม อย่าให้ปะทะกับลมธรรมชาติ เพราะจะทำให้เครื่องระบายความร้อนได้ลำบาก

               6.
ตำแหน่งติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง) ต้องให้ลมเย็นที่จ่ายออก
จากตัวเครื่องสามารถกระจายไปทั่วทั้งห้อง

  • ปรับตั้งอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสม ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น และห้องอาหารอาจตั้งอุณหภูมิไม่ให้ต่ำกว่า 25 C สำหรับห้องนอนนั้นอาจตั้งอุณหภูมิสูงกว่านี้ได้ ทั้งนี้เพราะร่างกายมนุษย์ขณะหลับมิได้เคลื่อนไหว อีกทั้งการคายเหงื่อก็ลดลง หากปรับอุณหภูมิเป็น 26-28 C ก็ไม่ทำให้รู้สึกร้อนเกินไป แต่จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณร้อยละ 15-20

  • ใช้พัดลมช่วยในการถ่ายเทอากาศให้รู้สึกสบายขึ้น

  • อย่านำสิ่งของไปขวางทางลมเข้าออกของคอนเดนซิ่งยูนิต จะทำให้เครื่องระบายความร้อนไม่ออก และอย่านำสิ่งของไปขวางทางลมของ แฟนคอยล์ยูนิต  ทำให้ห้องไม่เย็น 

  • ลดความชื้นภายในห้องให้ต่ำ โดยการไม่ปลูกต้นไม้หรือตากผ้าภายในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศที่สุด เพราะจะทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้น

  • ควรเปิดหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในห้องเฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานเท่านั้น และปิดทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จ เพราะหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดขณะเปิดใช้งานจะมีความร้อนออกมาทำให้อุณหภูมิในห้องสูงขึ้น

  • หลีกเลี่ยงการนำเครื่องครัว หรือภาชนะที่มีผิวหน้าร้อนจัด เช่น เตาไฟฟ้า กะทะร้อน หม้อต้มน้ำ หม้อต้มสุกี้ เข้าไปในห้องที่มีการปรับอากาศ ควรปรุงอาหารในครัว แล้วจึงนำเข้ามารับประทานภายในห้อง

  • รู้จักสังเกตการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

  • สังเกตเสียงการทำงานของคอมเพรสเซอร์ว่าปกติดีหรือไม่ 

  • สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิห้องในขณะที่เครื่องปรับอากาศทำงาน  หากภายในห้องไม่เย็นตามปกติ  ต้องรีบหาทางแก้ไขเพราะว่าอาจเป็นการใช้งานเครื่องปรับอากาศอย่างไม่เต็มที่ อีกทั้งยังทำให้เครื่องปรับอากาศมีอายุการใช้งานสั้นลงอีกด้วย

  • รู้จักใช้งานเครื่องปรับอากาศเฉพาะคราวจำเป็น

  • ถ้าต้องออกจากห้องเป็นเวลามากกว่า1 ชั่วโมง ควรปิดเครื่องปรับอากาศก่อน และต้องตรวจดูให้แน่ใจด้วยว่าหน้าต่างและประตูได้ปิดสนิทขณะที่เครื่องปรับอากาศทำงานอยู่   ในช่วงเวลาที่ไม่ใช้ห้องหรือก่อนเปิดเครื่องปรับอากาศสัก 2 ชั่วโมง ควรเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้เพื่อให้อากาศ บริสุทธิ์ภายนอกเข้าไปแทนที่อากาศเก่าในห้อง จะช่วยลดกลิ่นต่างๆให้น้อยลงโดยไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น




แอร์เคลื่อนที่,แอร์หน้าต่าง,แอร์มุ้ง,เครื่องฟอกอากาศ

แนะนำ สินค้า article