ReadyPlanet.com
bulletแอร์ CARRIER
bulletแอร์ CENTRAL
bulletแอร์ DAIKIN
bulletแอร์ EMINENT
bulletแอร์ FUJITSU
bulletแอร์ FOCUS
bulletแอร์ Haier
bulletแอร์ PANASONIC
bulletแอร์ LG
bulletแอร์ MITSUBISHI
bulletแอร์ MITSUBISHI
bulletแอร์ Midea
bulletแอร์ MITSUI
bulletแอร์ SAMSUNG
bulletแอร์ SHARP
bulletแอร์ STAR AIRE
bulletแอร์ TCL
bulletแอร์ TRANE
bulletแอร์ TOSHIBA
bulletแอร์ UNI AIRE
bulletแอร์ YORK
bulletแอร์เคลื่อนที่
bulletม่านอากาศ
bulletเครื่องทำน้ำเย็น
bulletเครื่องฟอกอากาศ
bulletเครื่องทำน้ำอุ่น
bulletแอร์มุ้ง
ไลน์ เพิ่มเพื่อน
dot
พัดลมดูดอากาศ Ventilators Fan
dot
bulletMITSUBISHI แบบติดผนัง
dot
เครื่องใช้ไฟฟ้า,บริการผ่อน
dot
bulletแอร์เก่าของคุณมีค่า
bulletกล้องวงจรปิด CCTV
bulletแอร์ตั้งพื้น 13-24000BTU
bulletผ่อนแอร์10งวด 0%
bulletเครื่องซักผ้า Panasonic
bulletเครื่องทำน้ำอุ่น Panasonic
bulletSite Reference
dot
dot
bulletยินดีต้อนรับ ร้านค้าผู้จำหน่าย
bulletChat Online
bulletTechnology IT
bulletนานา สาระน่ารู้
bulletsite map
bulletรายชื่อขนส่งสินค้า ไปต่างจังหวัด
bulletช่างประจำเขต
bulletโปรโมชั่น
bulletบิล 2021
dot
dot
dot
ร้านค้าสมาชิก ท๊อปคูลแอร์
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


ยินดีรับบัตรเครดิตทุกธนาคาร
บริการชำระด้วยบัตรเครดิต ถึงสถานที่ติดตั้ง สะดวกสบาย
รับสมัครงาน  พนักงานขาย  ช่างติดตั้ง


การประหยัดพลังงานของ "เครื่องปรับอากาศ" article

การประหยัดพลังงานของ "เครื่องปรับอากาศ"เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศที่มีอากาศร้อนชื้นเกือบตลอดทั้งปี การใช้"เครื่องปรับอากาศ"เพื่อทำความเย็นให้เกิดความรู้สึกสบายแก่ผู้อาศัยในบ้านพัก ที่อยู่ในเมื่องใหญ่ๆ หรือตามชานเมือง จึงได้รับความนิยมมาก แต่เครื่องปรับอากาศเป็น เครื่องจักรกลที่ใช้พลังงานไฟฟ้าค่อนข้างสูง ผู้ใช้จึงต้องตระหนักถึงการจ่ายค่าไฟฟ้าที่มาก ขึ้นด้วย ดังนั้นการที่จะอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศโดยไม่ทำให้เกิดผลเสีย ต่อความสุขสบายของผู้ใช้ และประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อผลประโยชน์ต่อผู้ใช้เองและต่อ ประเทศชาติโดยส่วนรวมนั้น จำเป็นต้องทราบถึงลักษณะการทำงานของเครื่องปรับอากาศ แต่ละชนิด การเลือกชนิดและขนาดของเครื่องให้เหมาะสมกับห้อง ตลอดจนต้องทราบถึง การติดตั้ง การใช้งาน และการบำรุงรักษาที่ถูกวิธีด้วย

อุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศของบ้านพักาศัย ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ที่สำคัญ 9 อย่างดังนี้
1. แผงท่อทำความเย็น (Cooling coil)
2. คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
3. แผงท่อระบายความร้อน (Condenser coil)
4. พัดลมส่งลมเย็น (Blower)
5. พัดลมระบายความร้อน (Condenser fan)
6. แผ่นกรองอากาศ (Air filter)
7. หน้ากากเครื่องที่มีแผ่นเกล็ดกระจายลมเย็น (Louver)
8. อุปกรณ์ควบคุมสำหรับการเปิด-ปิดเครื่อง ตั้งค่าอุณหภูมิห้อง ตั้งความเร็วของ
พัดลมส่งลมเย็น ตั้งเวลาการทำงานของเครื่อง เป็นต้น อุปกรณ์ควบคุมนี้อาจติดตั้งอยู่ที่ตัว เครื่องปรับอากาศเอง หรือแยกเป็นอุปกรณ์ต่างหากเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการ ควบคุมระยะไกล (Remote control) จากบริเวณอื่นๆ ภายในห้องปรับอากาศ
9. อุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็น (Metering device)

หลักการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
การทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศต้องอาศัยสารทำความเย็น ซึ่งเป็นสารที่ไม่ มีกลิ่น สี และรส วัฎจักรการทำความเย็นเริ่มจากผู้ใช้เครื่องปรับอากาศ สารทำความเย็น เหลวในปริมาณพอเหมาะจะไหลผ่านอุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็นเข้าไปยังแผงท่อทำความ เย็นซึ่งติดตั้งอยู่ภายในห้อง พัดลมส่งลมเย็นจะดูดอากาศร้อนและชื้นภายในห้องผ่านแผ่น กรองอากาศ ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านหน้าของแผงท่อทำความเย็น เพื่อกรองเอาฝุ่นละอองขนาดใหญ่ ออกไป จากนั้นอากาศร้อนชื้นจะคายความร้อนให้แก่สารทำความเย็นภายในแผงท่อทำความ เย็น ทำให้มีอุณหภูมิและความชื้นลดลงและถูกพัดลมส่งลมเย็นกลับเข้ามาสู่ห้องอีกครั้งหนึ่ง โดยผ่านแผ่นเกล็ดกระจายลม เพื่อให้ลมเย็นแพร่ไปสู่ส่วนต่างๆ ของห้องอย่างทั่วถึง
สำหรับสารทำความเย็นเหลวภายในแผงท่อทำความเย็น เมื่อได้รับความร้อนจาก อากาศภายในห้องจะระเหยกลายเป็นไอ และไหลเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ ซึ่งไอที่ได้นี้จะถูกส่ง ต่อไปยังแผงท่อระบายความร้อนซึ่งติดตั้งอยู่นอกอาคาร พัดลมระบายความร้อนจะดูดอากาศ ภายนอกมาระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ทำให้ไอสารทำความเย็นกลั่นตัวกลับ เป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง และไหลออกจากแผงท่อระบายความร้อนไปสู่อุปกรณ์ป้อนสารทำ ความเย็นวนเวียนเป็นวัฎจักรเช่นนี้ตลอดเวลา จนกว่าอุณหภูมิในห้องจะถึงระดับที่เราตั้งไว้ อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิก็จะส่งสัญญาณให้เครื่องคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานชั่วขณะหนึ่ง จึงประหยัดไฟฟ้าส่วนที่ป้อนให้คอมเพรสเซอร์ทำงานได้ แต่พัดลมส่งลมเย็นยังคงทำหน้าที่ส่ง ลมให้ภายในห้อง จนเมื่อความร้อนจากร่างกายของผู้ที่อยู่ในห้องเริ่มทำให้คอมเพรสเซอร์ทำ งานโดยอัดสารทำความเย็นป้อนเข้าไปในแผงท่อทำความเย็นใหม่
ดังนั้นถ้าเราตั้งอุณหภูมิที่อุปกรณืควบคุมไม่ให้ต่ำมากคือ ไม่ให้เย็นจนเกินไป ก็จะ ช่วยประยัดค่าไฟได้ ซึ่งตามปกติควรตั้งไว้ที่ 25 ํ C
หลักการทำความเย็นในลักาณธนี้ จะต้องทำให้ห้องที่จะทำการปรับอากาศนั้นอยู่ ในสภาพที่เป็นระบบปิดเสมือนเป็นกล่องใบหนึ่งคือ ต้องปิดประตูและหน้าต่างทุกบานให้มิด ชิดอย่าให้มีอากาศรั่วเข้าออกได้ เครื่องปรับอากาศจะทำงานโดยรับความร้อนและความชื้น จากภายในห้องไปปรับจนเย็นถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ซึ่งยังมีผู้ใช้เครื่องปรับอากาศผิดๆ โดยเปิด เครื่องปรับอากาศและยังคงเปิดประตูหรือหน้าต่างไว้ ซึ่งทำให้อากาศและความชื้นจากภาย นอกห้องไหลเข้ามาภายในห้องตลอดเวลา จึงทำให้คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานตลอดเวลาเช่น กัน และทำให้ห้องเย็นไม่ถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้ จึงสิ้นเปลืองพลังงาน กล่าวโดยสรุปก็คือ เครื่องปรับอากาศทำหน้าที่พาความร้อนที่เกิดขึ้นภายในห้อง ต่างๆ ของบ้านพักอาศัยผ่านทางแผงท่อทำความเย็นออกไปทิ้งภายนอกอาคารโดยผ่านทาง แผงท่อระบายความร้อนนั้นเอง หากการพาความไปทิ้งนี้เกิดขึ้นได้สะดวก ห้องต่างๆ ก็จะ เย็นได้รวดเร็วและสิ้นเปลืองไฟฟ้าน้อยด้วย

ขนาดการทำความเย็นและชนิดของเครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านทั่วไป มักมีขนาดการทำความเย็นระหว่าง 9,000- 30,000 บีทียู/ชม. (Btu/h) หรือ 0.75-2.5 ตันความเย็น (1 ตันความเย็น = 12,000 บีทียู /ชม.) เครื่องที่นิยมใช้กันมี 2 ชนิด คือ
1. เครื่องแบบแยกส่วน มีขนาดตั้งแต่ 9,000-30,000 บีทียู/ชม. ตัวเครื่องแบ่ง เป็น 2 ส่วน ส่วนที่อยู่ภายในห้องเรียกว่า แฟนคอยล์ยูนิต (Fan coil unit) มีหน้าที่ทำความเย็นพัดลมส่งลมเย็น แผ่นกรองอากาศ หน้ากากพร้อมเกล็ดกระจายลมเย็น และอุปกรณ์ ควบคุมอีกส่วนหนึ่งติดตั้งภายนอกห้อง เรียกว่า คอนเดนซิ่งยูนิต (Condensing unit) ประกอบ ด้วยคอมเพรสเซอร์แผงท่อระบายความร้อนและพัดลมระบายความร้อน เครื่องทั้ง สองส่วนเชื่อมต่อกันด้วยท่อสารทำความเย็น เครื่องแบบนี้นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับบ้านเดี่ยวตามหมู่บ้าน บ้านชานเมือง บ้านใน เมืองหรือตึกแถว ซึ่งมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต ตัวแฟนคอยล์ยูนิต โดยมีทั้งแบบติดเพดาน ติดผนัง หรือแบบตั้งพื้น เครื่องแบบติดเพดานเหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่ หรือเป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ค่อน ข้างยาว หรือไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งบนพื้นห้อง เครื่องแบบติดผนังเหมาะกับห้องทั่วไป ลักษณะห้องค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส
ส่วน เครื่องตั้งพื้นนั้นเหมาะกับห้องขนาดเล็ก เช่น ห้องนอนขนาดเล็กหรือห้องรับแขกขนาดเล็ก
2. เครื่องแบบติดหน้าต่าง มีขนาดตั้งแต่ 9,000-24,000 บีทียู/ชม. เหมาะ สำหรับอาคารที่เป็นตึกแถว หรือทาวน์เฮาส์ซึ่งไม่อาจติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิตได้เพราะไม่มีสถานที่ติด ตั้ง หรือสถานที่นั้นไม่เพียงพอ เช่น ความกว้างของกันสาดแคบเกินไป เป็นต้น มักติดที่วง กบช่องแสงเหนือบานหน้าต่างห้อง

การเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม
ขนาดของเครื่องปรับอากาศที่ใช้ทำความเย็นให้แก่ห้องต่างๆ ภายในบ้าน โดยเฉลี่ย ความสูงของห้อง โดยทั่วไปที่ 2.5-3 เมตร อาจประมาณคร่าวๆ จากค่าต่อไปนี้
1. ห้องรับแขก ห้องอาหาร ประมาณ 15 ตร.ม./ตันความเย็น
2. ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นหลังคา ประมาณ 20 ตร.ม./ตันความเย็น
3. ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นพื้นของอีกชั้นหนึ่ง ประมาณ 23 ตร.ม./ตันความเย็น

การปรับปรุงอาคารก่อนการติดตั้งระบบปรับอากาศ
เพื่อให้เครื่องปรับอากาศที่ซื้อมาสามารถทำความเย็นได้อย่างเต็มที่และประหยัด พลังงาน ควรมีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบตัวบ้านและห้องที่จะติดตั้ง ดังนี้
1. หากห้องที่ทำการปรับอากาศ มีกระจกส่วนใหญ่หันไปทางทิศตะวันออก ทิศ ตะวันตกหรือทิศใต้ ควรปลูกต้นไม้ใหญ่บังแดดให้ผืนกระจก นอกจากนี้ต้นไม้ยังทำให้ อากาศนอกอาคารมีอุณหภูมิต่ำลง ช่วยลดปริมาณความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ห้องอีกด้วย
2. หากไม่สามารถปลุกต้นไม้ได้ ควรติดตั้งกันสาดที่ด้านนอกอาคารหรือติดผ้า ม่านหรือมู่ลี่สีอ่อนที่สามารถปรับมุมใบเกล็ดไว้ด้านหลังกระจกด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตกและ ทิศใต้ เพื่อป้องกันมิให้แสงแดดส่องผ่านแผ่นกระจกเข้ามาในห้อง
3. เหนือฝ้าเพดานที่เป็นหลังคา หากสามารถปูแผ่นใยแก้วที่มีความหนา 1 นิ้ว ชนิดมีแผ่นฟอยล์ (Aluminum foil) หุ้มแผ่นใยแก้วไว้ทั้งหมดเหนือแผ่นฝ้า จะช่วยลดการ ส่งผ่านรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์เข้าสู่ห้องที่มีการปรับอากาศได้
4. พัดลมระบายอากาศของห้องอาหาร ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ที่มีการปรับอากาศ ต้องมีขนาดไม่เกิน 6 นิ้ว และเปิดเฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เช่น เพื่อระบายกลิ่นอาหาร หรือควันบุหรี่ เพื่อป้องกันมิให้มีการดูดเอาอากาศเย็นภายในห้องทิ้งออกไปมากเกินควร ทำให้ห้องไม่เย็น และเครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก ควรสูบบุหรี่นอกห้องปรับอากาศ เพื่อป้องกันมิให้อากาศภายในห้องสกปรก
5. ภายในห้องนอนไม่ควรติดตั้งพัดลมระบายอากาศ หากมีห้องน้ำติดกับห้องนอน อาจติดพัดลมระบายอากาศที่มีขนาดไม่เกิน 6 นิ้วไว้ภายในห้องน้ำก้ได้ แต่ควรเปิดเฉพาะ เมื่อมีการใช้ห้องน้ำเท่านั้น
6. ควรอุดรูรั่วรอบห้องให้สนิท เพื่อป้องกันมิให้อากาศร้อนภายนอกรั่วซึมเข้า สู่ห้อง หน้าต่างบานเกล็ด ไม่ว่าจะเป็นบานเกล็ดไม้หรือเกล็ดกระจก มักมีช่องว่างระหว่างแผ่นเกล็ด มาก ควรแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่
7. ควรทาสีผยังภายนอกอาคารด้วยสีขาวหรืออ่อน จะช่วยลดการนำความร้อน ผ่านผนังได้ดี

การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ
1. ควรเลือกซื้อเครื่องที่มีเครื่องหมายการค้าเป็นที่รู้จักทั่วไป เพราะเป็นเครื่องที่มี คุณภาพสามารถเชื่อถือปริมาณความเย็นและพิจารณาการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าของตัว เครื่องที่ปรากฏอยู่ในแคตตาล็อคผู้ผลิตเป็นสำคัญ
2. หากเครื่องที่ต้องการซื้อมีขนาดไม่เกิน 25,000 บีทียู/ชม. ควรเลือกเครื่องที่ ผ่านการรับรองการใช้พลังงานไฟฟ้าหมายเลข 5 ซึ่งแสดงว่าเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยมีฉลากปิดที่ตัวเครื่องให้เห็นได้อย่างชัดเจน
3. ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่กว่า 25,000 บีทียู/ชม.ให้เลือก เครื่องที่มีการใช้ไฟไม่เกิน 1.40 กิโลวัตต์ต่อ 1 ตันความเย็นหรือมีค่า EER (Energy Efficiency Ratio) ไม่น้อยกว่า 8.6 บีทียู ชม./วัตต์ โดยดูจากแคตตาล็อคผู้ผลิต

 

คุณลักษณะเฉพาะ
เครื่องปรับอากาศ
แบบแยกส่วน
ชนิดติดผนัง
ชนิดควบคุมด้วย
รีโมทแบบไร้สาย
ชนิดควบคุมด้วย
รีโมทแบบมีสาย
ความสามารถ
ในการทำความเย็น
 
Btu/hr
13,000
13,000
13,000
อัตราการไหลของอากาศ
CFM
400
450
450
แหล่งจ่ายไฟ
(V/Ph/Hz)
 
220/1/50
220-240/1/50
220-240/1/50
ค่าอัตราส่วน
ประสิทธิภาพพลังงาน(EER)
 
Btuh/W
11.64
12.24
11.46

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ผิดวิธี โดยเฉพาะในเครื่องแบบแยกส่วน นอกจาก จะทำให้เครื่องทำความเย็นได้น้อยลงแล้ว สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นอีกด้วย จึงควรให้ความสนใจดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ควรติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต และคอนเดนซิ่งยูนิตของเครื่องแบบแยกส่วนให้ใกล้ กันมากที่สุด จะทำให้เครื่องไม่ต้องทำงานหนักในการส่งสารทำความเย็นให้ไหลไปตามท่อ ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการเดินท่อและหุ้มฉนวนตลอดจนลดโอกาสการรั่วของสารทำความเย็น

2. หุ้มท่อสารทำความเย็นจากคอนเดนเซอรืไปยังแผงท่อทำความเย็น (Cooling coil) ของเครื่องแบบแยกส่วนด้วยฉนวนที่มีความหนาประมาณ 0.5 นิ้ว หรือตามที่ผู้ผลิตแนะนำ เพื่อป้องกันมิให้มีสารทำความเย็นภายในท่อแลกเปลี่ยนความร้อนกับ อากาศภายนอกตามเส้นท่อ

3. ตำแหน่งติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต(หรือเครื่องแบบหน้าต่าง) ควรอยู่ในที่ร่ม ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง แต่อากาศภายนอกสามารถท่ายเทได้สะดวก ไม่ควรอยู่ในที่อับลม หรือคับแคบ ที่ว่างโดยรอบเครื่องต้องเพียงพอตามที่ผู้ผลิตแนะนำ


4.ในสถานที่ซึ่งมีการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต (หรือเครื่องแบบหน้าต่าง)หลายๆ ชุด ต้องระวังอย่าให้ลมร้อนที่ระบายออกจากเครื่องชุดหนึ่งเป่าเข้าหาเครื่องอีกชุดหนึ่ง ควรให้ลมร้อนจากแต่ละเครื่องเป่าออกได้โดยสะดวก

5. ในบางสถานที่ซึ่งมีลมพัดแรงตลอดเวลาในทิศทางเดียว ควรติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต (หรือเครื่องแบบหน้าต่าง) ให้อากาศร้อนระบายออกจากตัวเครื่องอยู่ในทิศเดียวกับ กระแสลม อย่าให้ปะทะกับลมธรรมชาติ เพราะจะทำให้เครื่องระบายความร้อนได้ลำบาก
6. ตำแหน่งติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต (หรือเครื่องแบบหน้าต่าง) ต้องให้ลมเย็นที่จ่าย ออกจากตัวเครื่องสามารถกระจายไปทั่วทั้งห้อง



การใช้งานเครื่องปรับอากาศ

การใช้งานเครื่องปรับอากาศอย่างถูกต้อง ช่วยให้เครื่องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดพลังงานไฟฟ้า สามารถทำโดยวิธีการดังต่อไปนี้
1. ปรับตั้งอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสม ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น และห้องอาหาร อาจตั้งอุณหภูมิไม่ให้ต่ำกว่า 25 ํ C สำหรับห้องนอนนั้นอาจตั้งอุณหภูมิสูงกว่านี้ได้ ทั้งนี้เพราะร่างกายมนุษย์ขณะหลับมิได้เคลื่อนไหว อีกทั้งการคายเหงื่อก็ลดลง หากปรับอุณหภูมิ เป็น 26-28 ํ C ก็ไม่ทำให้รู้สึกร้อนเกินไป แต่จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณร้อยละ 15-20
2. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่เลิกใช้งาน หากสามารถทราบเวลาที่แน่นอน ควรตั้งเวลาการทำงานของตัวเครื่องไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เครื่องหยุดเองโดยอัตโนมัติ
3. อย่านำสิ่งของไปกีดขวางทางลมเข้าและลมออกของคอนเดนซิ่งยูนิตจะทำให้ เครื่องระบายความร้อนไม่ออก และต้องทำงานหนักมากขึ้น
4. อย่านำรูปภาพหรือสิ่งของไปขวางทางลมเข้าและลมออกของแฟนคอยล์ยูนิต จะ ทำให้ห้องไม่เย็น
5. ควรเปิดหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในห้องเฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการ ใช้งานเท่านั้น และปิดทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จ เพราะหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดขณะ เปิดใช้งาน จะมีความร้อนออกมาทำให้อุณหภูมิในห้องสูงขึ้น
6. หลีกเลี่ยงการนำเครื่องครัว หรือภาชนะที่มีผิวหน้าร้อนจัด เช่น เตาไฟฟ้า กะทะร้อน หม้อต้มน้ำ หม้อต้มสุกี้ เข้าไปในห้องที่มีการปรับอากาศ ควรปรุงอาหารในครัว แล้วจึงนำเข้ามารับประทานภายในห้อง
7. ในช่วงเวลาที่ไม่ใช้ห้องหรือก่อนเปิดเครื่องปรับอากาศสัก 2 ชั่วโมง ควรเปิด ประตูหน้าต่างทิ้งไว้เพื่อให้อากาศบริสุทธิ์ภายนอกเข้าไปแทนที่อากาศเก่าในห้อง จะช่วยลดกลิ่นต่าง ๆ ให้น้อยลงโดยไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศซื่งจะทำให้เครื่องปรับ อากาศทำงานหนักขึ้น
8. ควรปิดประตู หน้าต่างให้สนิทขณะใช้งานเครื่องปรับอากาศ เพื่อป้องกันมิให้ อากาศร้อนขื้นจากภายนอกเข้ามา อันจะทำให้เครื่องต้องทำงานมากขึ้น
9. ไม่ควรปลูกต้นไม้ หรือตากผ้าภายในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศเพราะความชื้น จากสิ่งเหล่านี้จะทำให้เครื่องต้องทำงานหนักขึ้น


การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

การบำรุงรักษาที่ถูกต้องและสม่ำเสมอ ทำให้เครื่องปรับอากศมีอายุใช้งานได้ยาว นาน มีประสิทธิภาพสูง และประหยัดพลังงานไฟฟ้าตลอดเวลา ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
1. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศทุก ๆ 2 สัปดาห์ เพื่อให้เครื่องสามารถ จ่ายความเย็นได้เต็มที่ตลอดเวลา
2. หมั่นทำความสะอาดแผงท่อทำความเย็นด้วยแปรงนิ่ม ๆ และน้ำผสมสบู่เหลว อย่างอ่อนทุก 6 เดือน เพื่อให้เครื่องทำความเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
3. ทำความสะอาดพัดลมส่งลมเย็นด้วยแปรงขนาดเล็ก เพื่อขจัดฝุ่นละอองที่จับ กันเป็นแผ่นแข็งและติดกันอยู่ตามซี่ใบพัดทุก6 เดือน จะทำให้พัดลมส่งลมได้เต็มสมรรถนะ ตลอดเวลา
4. ทำความสะอาดแผงท่อระบายความร้อน โดยการใช้เแปรงนิ่ม ๆ และน้ำฉีด ล้างทุก ๆ 6 เดือน เพื่อให้เครื่องสามารถนำความร้อนภายในห้องออกไปทิ้งให้แก่อากาศ ภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. หากปรากฏว่าเครื่องไม่เย็นเพราะสารทำความเย็นรั่วต้องรีบตรวจหารอยรั่วแล้ว ทำการแก้ไขพร้อมเติมให้เต็มโดยเร็ว มิฉะนั้นเครื่องจะใช้พลังงานไฟฟ้าโดยไม่ทำให้เกิดความ เย็นแต่อย่างไร
6. ตรวจสอบฉนวนหุ้มท่อสารทำความเย็นอย่างสม่ำเสมอ อย่าให้เกิดฉีกขาด