ReadyPlanet.com
bulletแอร์ CARRIER
bulletแอร์ CENTRAL
bulletแอร์ DAIKIN
bulletแอร์ EMINENT
bulletแอร์ FUJITSU
bulletแอร์ FOCUS
bulletแอร์ Haier
bulletแอร์ PANASONIC
bulletแอร์ LG
bulletแอร์ MITSUBISHI
bulletแอร์ MITSUBISHI
bulletแอร์ Midea
bulletแอร์ MITSUI
bulletแอร์ SAMSUNG
bulletแอร์ SHARP
bulletแอร์ STAR AIRE
bulletแอร์ TCL
bulletแอร์ TRANE
bulletแอร์ TOSHIBA
bulletแอร์ UNI AIRE
bulletแอร์ YORK
bulletแอร์เคลื่อนที่
bulletม่านอากาศ
bulletเครื่องทำน้ำเย็น
bulletเครื่องฟอกอากาศ
bulletเครื่องทำน้ำอุ่น
bulletแอร์มุ้ง
ไลน์ เพิ่มเพื่อน
dot
พัดลมดูดอากาศ Ventilators Fan
dot
bulletMITSUBISHI แบบติดผนัง
dot
เครื่องใช้ไฟฟ้า,บริการผ่อน
dot
bulletแอร์เก่าของคุณมีค่า
bulletกล้องวงจรปิด CCTV
bulletแอร์ตั้งพื้น 13-24000BTU
bulletผ่อนแอร์10งวด 0%
bulletเครื่องซักผ้า Panasonic
bulletเครื่องทำน้ำอุ่น Panasonic
bulletSite Reference
dot
dot
bulletยินดีต้อนรับ ร้านค้าผู้จำหน่าย
bulletChat Online
bulletTechnology IT
bulletนานา สาระน่ารู้
bulletsite map
bulletรายชื่อขนส่งสินค้า ไปต่างจังหวัด
bulletช่างประจำเขต
bulletโปรโมชั่น
bulletบิล 2021
dot
dot
dot
ร้านค้าสมาชิก ท๊อปคูลแอร์
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


ยินดีรับบัตรเครดิตทุกธนาคาร
บริการชำระด้วยบัตรเครดิต ถึงสถานที่ติดตั้ง สะดวกสบาย
รับสมัครงาน  พนักงานขาย  ช่างติดตั้ง


วิธีการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ article
หลักการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศนั้น คือ การนำเอาความร้อนจากภายในอาคารถ่ายเทออกสู่ภายนอกอาคาร การทำงานจะเริ่มต้นจากเมื่อจ่ายไฟให้คอมเพรสเซอร์ทำงานคอมเพรสเซอร์จะดึงสารทำความเย็น ที่เป็นแก๊สร้อนความดันต่ำจากอีวาพอเรเตอร์เข้ามาทำการอัดให้มีความดันสูงขึ้นและส่งสารทำความ เย็นที่เป็นแก๊สร้อนความดันสูงไปยังคอนเดนเซอร์ คอนเดนเซอร์จะทำการระบายความร้อนที่แฝงอยู่ในสารทำความเย็นออกทำให้สารทำความเย็นเกิดการควบแน่นจนกลายเป็นของเหลวความดันสูงส่งไปยังดราย เออร์ดรายเออร์จะทำการกรองสิ่งสกปรกและความชื้นที่มากับสารทำความเย็นออกก่อนส่งไปยังเอ็กแพนชั่นวาลว์เอ็กแพนชั่นวาลว์จะรับสารทำความเย็นที่เป็นของเหลวความดันสูงเข้ามาทำการลดความดันลงและฉีดเป็นละอองส่งต่อไปยังอีวาพอเรเตอร์เมื่อละอองสารทำความเย็นถูกลดความดันลง และฉีดเข้าไปในอีวาพอเรเตอร์สารทำความเย็นจะเกิดการเดือดและดึงความร้อนที่อยู่รอบข้างเข้ามาช่วยในการเดือด โดยความร้อนที่ถูกดึงเข้ามานั้นจะได้จากอากาศที่อยู่โดยรอบ เมื่อสารทำความเย็นเดือดหมดก็จะกลายสถานะเป็นแก๊สร้อนความดันต่ำส่งไปที่คอมเพรสเซอร์เพื่ออัดให้เป็นแก๊สร้อนความดันสูงอีกครั้งหนึ่ง

จากวัฎจักรของการทำงานข้างตนจะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสารทำความเย็นที่สมบูรณ์จะทำให้ได้ประสิทธิภาพของการทำความเย็นที่สมบูรณ์ด้วย จึงได้มีการนำพัดลมเข้ามาช่วยในการเปลี่ยนสถานะ กล่าวคือ ณ ตำแหน่งคอนเดนเซอร์ได้ติดตั้งพัดลมเพื่อเป่าลมช่วยระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ทำให้สารทำความเย็นที่เป็นแก๊สร้อนนั้นเมื่อผ่านคอนเดนเซอร์แล้วกลายเป็นของเหลวทั้งหมดและ ณ ตำแหน่งอีวาพอเรเตอร์จะติดตั้งพัดลมเพื่อเป่าลมผ่านความร้อนแฝงที่มากับลมจะถูกถ่ายเทผ่านอีวาพอเรเตอร์ไปยังละอองสารทำความเย็นภายในช่วยให้ละอองสารทำความเย็นที่ฉีดเข้ามาในอีวาพอเรเตอร์เดือดและกลายสถานะเป็นแก๊สร้อนทั้งหมด ลมที่เป่าผ่านอีวาพอเรเตอร์ออกมาจึงกลายเป็นลมเย็น และถูกนำมาใช้งานการปรับอากาศในที่สุด

วงจรทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ คือ
1. คอมเพรสเซอร์ (Compresser) มีหน้าที่รับสารทำความเย็นที่มีสภาวะเป็นแก๊สร้อนความดันต่ำเข้ามาเพื่อทำการอัดให้เป็น สารทำความเย็นที่มีสภาวะเป็นแก๊สร้อน ความดันสูง
2. คอนเดนเซอร์ (Condenser) มีหน้าที่รับสารทำความเย็นที่มีสภาวะเป็นแก๊สร้อนความดันสูงมาระบายความร้อนออก เพื่อให้เป็นสารทำความเย็นที่มีสภาวะเป็นของ เหลวที่มีความดันสูง
3. ดรายเออร์ ฟิลเตอร์ (Dryer Filter) มีหน้าที่กรองสิ่งสกปรกและความชื้นออกจากสารทำความเย็น ก่อนส่งไปยังเอ็กแพนชั่นวาลว์ต่อไป
4. เอ็กแพนชั่นวาลว์ (Expansion Valve) มีหน้าที่รับสารทำความเย็นที่มีสภาวะเป็นของเหลวความดันสูงมาลดความดันและฉีดออก เป็นละอองสารทำความเย็นที่มีความดันต่ำ
5. อีวาพอเรเตอร์ (Evaporator) มีหน้าที่รับละอองสารทำความเย็นเข้ามาเดือดกลายเป็นสารทำความเย็นที่มีสภาวะเป็นแก๊สร้อนความดันต่ำ
ชนิดของเครื่องปรับอากาศ
1. เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างเป็นเครื่องที่นิยมใช้กันมากตามบ้านพักอาศัยในปัจจุบันก็ยังมีใช้กันอยู่เพราะง่ายต่อการติดตั้งและซ่อมบำรุงภายในตัวเครื่องประกอบด้วยวงจรการทำความเย็น และวงจรการหมุนเวียนของอากาศสมบูรณ์ในตัวโดยมีผนังกั้นระหว่างส่วนที่หมุนเวียนของอากาศภายในห้องทางด้านอีวาพอเรเตอร์และส่วนที่ระบายความร้อนออกภายนอกห้องทางด้านคอนเดนเซอร์ เหมาะสำหรับอาคารที่เป็นตึกแถว หรือทาวน์เฮาส์ ซึ่งไม่สามารถติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิตได้

2. เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนเป็นที่นิยมใช้กันมากตามบ้านพักอาศัย และสำนักงานในปัจจุบัน เพราะเสียงเงียบกว่าและการติดตั้งสะดวกกว่า เนื่องจากไม่ต้องรื้อหน้าต่างเช่นเดียวกับแบบติดหน้าต่าง เพียงแค่เจาะผนังเป็นรูสำหรับร้อยท่อซักชั่น ท่อลิควิค และสายไฟ เครื่องปรับอากาศ
แบบแยกส่วนนี้สามารถแบ่งตามลักษณะการติดตั้งได้เป็น 3 แบบ คือ 

  • แบบติดผนัง เป็นแบบที่ประหยัดเนื้อที่ ดูแลรักษาง่าย การติดตั้งจะมีข้อจำกัดด้านสถานที่ กล่าวคือ จะต้องติดตั้งกับผนังด้านที่ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
  • แบบตั้งพื้น จะเป็นแบบที่สะดวกต่อการบำรุงรักษาและซ่อมแซม แต่ฝุ่นละอองอาจเข้าภายในตัวเครื่องได้ง่าย เป็นผลทำให้ต้องทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศบ่อยๆ และยังเสียพื้นที่ไปส่วนหนึ่งด้วย
  • แบบแขวนเพดาน เป็นแบบที่ประหยัดเนื้อที่มากที่สุด ให้ระยะเป่าลมไกลกว่า ปัญหาเรื่องฝุ่นละอองน้อย การซ่อมแซมและการบำรุงรักษาไม่สะดวกนัก

    3. เครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์
    เครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ๆ ปัจจุบันได้นำเอาระบบระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter)มาใช้เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน โดยใช้ไมโครคอมพิวเตอร์มาควบคุมการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงานโดยอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพสูงที่สุดตลอดจนควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศภายในห้อง ให้อยู่ในค่าที่ร่างกายกำลังสบาย
    ระบบอินเวอร์เตอร์จะมีไมโครคอมพิวเตอร์ตรวจสอบอุณหภูมิภายในและภายนอก แล้วเลือกการทำงานเองว่าจะต้องทำความเย็น หรือลดความชื้นให้แก่อากาศภายในห้อง ส่วนในการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องจะทำโดย การเปลี่ยนค่าความถี่ของไฟฟ้าที่ป้อนให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ลดลง ส่งผลให้ปริมาตรการดูดน้ำยาในระบบน้อยลง การใช้พลังงานไฟฟ้าของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะลดลงด้วยการควบคุมอุณหภูมิโดยวิธีนี้ นอกจากจะเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้าแล้ว อุณหภูมิของอากาศภายในห้องก็จะคงที่ตามที่ปรับตั้งไว้ เพราะมอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะทำงานตลอดเวลาด้วยความเร็วรอบที่ช้าลง ซึ่งต่างจากระบบที่ใช้เทอร์โมสตัทเป็นตัวควบคุมและหยุดการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ เมื่ออุณหภูมิของอากาศภายในห้องลดต่ำลงถึงเกณฑ์ที่ปรับตั้งไว้ และมีช่วงอุณหภูมิพักเครื่อง ซึ่งจะมีค่าอุณหภูมิแตกต่างกันอยู่บ้างระหว่างจุดที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์หยุดการทำงาน และจุดที่เริ่มการทำงาน

    ประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ
    ประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ ( EER : Energy Efficiency Radio) จะเท่ากับ ปริมาณความเย็นของเครื่องปรับอากาศ / กำลังไฟฟ้าที่ใช้ ดังตัวอย่างเช่น
    เครื่องปรับอากาศขนาด 18,000 บีทียู / ชั่วโมง ใช้กำลังไฟฟ้า 1,800 วัตต์
    EER = 18,000 / 1,800 = 10 บีทียู / ชั่วโมง / วัตต์
    ซึ่งก็คือ ใช้กำลังไฟฟ้า 1 วัตต์ จะให้ความเย็น 10 บีทียู / ชั่วโมง
    โดยสามารถกำหนดระดับประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ ได้ดังนี้
     

    เบอร์ EER (บีทียู/ชั่วโมง)

    1
    2
    3
    4
    5

    น้อยกว่า 7.6
    7.6 - 8.6
    8.6 - 9.6
    9.6 - 10.6
    มากกว่า 10.6


    การเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศ
    การเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับห้องที่จะติดตั้งควรรู้ขนาดห้องเสียก่อน เพื่อให้ได้ความเย็นที่เหมาะสม กรณีซื้อ เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่เกินไป การทำความเย็นจะมากเกินไป การควบคุมความชื้นไม่ดี (เนื่องจากเครื่องต้องเดิน-หยุดบ่อย) ราคาเครื่อง และค่าติดตั้งก็จะสูงตามไปด้วย ถ้าซื้อเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กเกินไป การทำความเย็นก็ไม่เพียงพอ และเครื่องก็ต้องทำงานตลอดเวลา อายุการใช้งานก็จะสั้น ดังนั้นจึงควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มี
    ความสามารถในการทำความเย็นให้เหมาะสมกับพื้นที่ห้อง เพื่อให้สะดวกและรวดเร็ว สามารถหาขนาดของเครื่องปรับอากาศได้จากตาราง
     

    ขนาดของห้อง (ตารางเมตร)

    ขนาดเครื่อง
    (บีทียู)
    ห้องนอน ห้องนอน
    โดนแดด
    ห้องรับแขก
    ห้องนั่งเล่น
    ห้องรับแขก
    ห้องนั่งเล่นโดนแดด
    ห้องทำงาน ห้องทำงาน
    โดนแดด
    12,000
    15,300
    18,000
    20,800
    22,800
    27,200
    32,800
    38,000
    53,000
    64,400
    16-22
    20-28
    24-33
    28-38
    30-42
    36-50
    44-60
    51-70
    71-97
    86-118
    14-20
    18-26
    21-30
    24-35
    27-38
    32-45
    38-55
    44-63
    62-88
    75-107
    16-20
    20-26
    24-30
    28-35
    30-38
    36-45
    44-55
    51-63
    71-88
    86-107
    14-18
    18-23
    21-27
    24-31
    27-34
    32-41
    38-49
    44-57
    62-80
    75-97
    14-18
    18-23
    21-27
    24-31
    27-34
    32-41
    38-49
    44-57
    62-80
    75-97
    12-16
    15-20
    18-24
    21-28
    23-30
    27-36
    33-44
    38-51
    53-71
    64-86


    วิธีคำนวณขนาดเครื่องปรับอากาศ

    ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ มีรายละเอียดที่ควรสนใจ ได้แก่

    1. คอมเพรสเซอร์ ให้ตรวจดูว่าเป็นคอมเพรสเซอร์ใหม่ รวมทั้งมีการติดตั้งโอเวอร์โหลด (Overload) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ สำหรับตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ในกรณีที่กระแสไฟฟ้าตก หรือสูงกว่าปกติ และแอนตี้รีไซเคิล (Anti-recycle) ซึ่งเป็นอุปกรณ์หน่วงเวลา เพื่อป้องกันการปิด-เปิด เครื่องติดต่อกันในกรณีที่ไฟกระพริบ หรือไฟตก
    2. เปรียบเทียบการใช้ไฟของเครื่องปรับอากาศ
    COP : Coefficient of Performance (สมรรถนะของระบบทำความเย็น) ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งดี
    EER : Energy Efficiency Ratio (อัตราส่วนประสิทธิภาพการใช้พลังงาน) ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งดี
    3. ตรวจดูความแข็งแรงทั่วไปของเครื่อง ถ้าตัวถังเป็นเหล็กจะต้องหนา และไม่เป็นรอยขีดข่วนง่าย
    4. คอยล์และครีบอลูมิเนียมจะต้องใหม่ไม่มีฝุ่นจับ และครีบอลูมิเนียมควรถี่และตั้งตรง (ครีบไม่ล้ม)
    5. มอเตอร์แฟนคอยล์ยูนิต (ชุดที่อยู่ในห้อง) และคอนเดนซิ่งยูนิต (ชุดที่อยู่นอกห้อง) ต้องเป็นของใหม่ โดยสังเกตจากมอเตอร์ใหม่ต้องไม่มีฝุ่นเกาะขดลวดภายใน
    6. เลือกเครื่องปรับอากาศที่มีแผ่นแสดง (Name Plate) ที่มาของแหล่งผลิตและคุณสมบัติ ข้อมูลทางเทคนิคที่จำเป็นของเครื่องนั้นๆ เช่น กำลังไฟฟ้า สมรรถนะการทำความเย็นอัตราส่วน ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เป็นต้น
    7. ฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศ เบอร์ 5


    ข้อแนะนำต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่กำลังตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศได้ดีขึ้น

    1. ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศจากผู้ผลิตและผู้จำหน่ายที่เชื่อถือได้ เพราะแอร์โนเนมส่วนใหญ่จะมีกำลังความเย็น ( BTU ) น้อยกว่าที่แสดงไว้บนฉลากหรือที่ภาษาช่างแอร์เรียกว่า ไม่เต็มบีทียู เครื่องปรับอากาศจากผู้ผลิตโนเนมส่วนใหญ่มีกำลังความเย็นเพียง 70 – 80 % ของที่โฆษณาไว้ นอกจากจะมีกำลังความเย็นไม่เต็มบีทียูแล้ว –แอร์โนเนมยังมีเสียงดังแล้วยังเสียเร็วด้วย

    2. ควรเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 หรือเบอร์ 4 และได้มาตรฐานอุตสาหกรรม ( มอก. ) เพราะได้รับการทดสอบความสามารถในการทำความเย็นแล้ว ซึ่งทำให้ท่านแน่ใจได้ว่าจะได้เครื่องปรับอากาศที่ประหยัดไฟฟ้าและมีประสิทธิภาพเต็มบีทียู นอกจากนี้ควรพิจารณาประกอบกับผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือด้วยเนื่องจากว่าอาจมีผู้ผลิตบางราย ปลอมฉลากเบอร์ 5 ด้วย

    3.เลือกใช้เครื่องปรับอากาศของผู้ผลิตที่และผู้แทนจำหน่าย มีบริการหลังการขายที่ดี ข้อนี้เป็นข้อที่มีความสำคัญมากเช่นกันผู้ให้บริการนั้นต้องมีความชำนาญ ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้ เพราะนั่นหมายถึงผู้ที่จะดูแลเครื่องปรับอากาศของคุณ จะได้ไม่ต้องมาหงุดหงิดกับปัญหาจุกจิกกวนใจภายหลัง

    ข้อพิจารณาในการใช้งานเครื่องปรับอากาศ

    1. ปรับตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ประมาณ 25 องศาเซลเซียส
    2. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งเมื่อเลิกใช้ หรือไม่ใช้งานเกินกว่า 1 ชั่วโมง
    3. อย่านำสิ่งของไปวางกีดขวางทางลมเข้า/ออกของคอนเดนซิ่งยูนิต
    4. หลีกเลี่ยงการนำอุปกรณ์ที่มีความร้อน เช่น เตารีด เตาไฟฟ้า เข้ามาใช้ภายในห้องที่มีการปรับอากาศ
    5. ควรปิดประตู หน้าต่างให้สนิท ขณะใช้งานเครื่องปรับอากาศ
    6. ไม่ควรปลูกต้นไม้ หรือตากผ้าในห้องที่มีการปรับอากาศ