ReadyPlanet.com
bulletแอร์ CARRIER
bulletแอร์ CENTRAL
bulletแอร์ DAIKIN
bulletแอร์ EMINENT
bulletแอร์ FUJITSU
bulletแอร์ FOCUS
bulletแอร์ Haier
bulletแอร์ PANASONIC
bulletแอร์ LG
bulletแอร์ MITSUBISHI
bulletแอร์ MITSUBISHI
bulletแอร์ Midea
bulletแอร์ MITSUI
bulletแอร์ SAMSUNG
bulletแอร์ SHARP
bulletแอร์ STAR AIRE
bulletแอร์ TCL
bulletแอร์ TRANE
bulletแอร์ TOSHIBA
bulletแอร์ UNI AIRE
bulletแอร์ YORK
bulletแอร์เคลื่อนที่
bulletม่านอากาศ
bulletเครื่องทำน้ำเย็น
bulletเครื่องฟอกอากาศ
bulletเครื่องทำน้ำอุ่น
bulletแอร์มุ้ง
ไลน์ เพิ่มเพื่อน
dot
พัดลมดูดอากาศ Ventilators Fan
dot
bulletMITSUBISHI แบบติดผนัง
dot
เครื่องใช้ไฟฟ้า,บริการผ่อน
dot
bulletแอร์เก่าของคุณมีค่า
bulletกล้องวงจรปิด CCTV
bulletแอร์ตั้งพื้น 13-24000BTU
bulletผ่อนแอร์10งวด 0%
bulletเครื่องซักผ้า Panasonic
bulletเครื่องทำน้ำอุ่น Panasonic
bulletSite Reference
dot
dot
bulletยินดีต้อนรับ ร้านค้าผู้จำหน่าย
bulletChat Online
bulletTechnology IT
bulletนานา สาระน่ารู้
bulletsite map
bulletรายชื่อขนส่งสินค้า ไปต่างจังหวัด
bulletช่างประจำเขต
bulletโปรโมชั่น
bulletบิล 2021
dot
dot
dot
ร้านค้าสมาชิก ท๊อปคูลแอร์
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


ยินดีรับบัตรเครดิตทุกธนาคาร
บริการชำระด้วยบัตรเครดิต ถึงสถานที่ติดตั้ง สะดวกสบาย
รับสมัครงาน  พนักงานขาย  ช่างติดตั้ง


ชิลเลอร์ แบ่งเป็นประเภทต่างๆ
Chiller แบ่งตามการระบายความร้อนออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 3 ประเภทคือ

1. chiller แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ หรือ water cooled Chiller
2. chiller แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ หรือ Air Cooled Chiller
3. Absorbtion Chiller เป็นChiller ที่ทำความเย็นโดยการดูดซึม โดยใช้พลังงานจากไอเสียของไอน้ำในขบวนการทำความเย็น  เมืองไทยมีใช้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นยี่ห้อ Hitachi  จำนวน 4 ยูนิต


และแบ่งตามชนิดคอมเพรสเซอร์ได้อีกเป็น 4 ประเภทหลัก คือ
1. Centrifugal Chiller
2. Reciprocating Chiller
3. Screw chiller
4. scroll chiller

ส่วนใหญ่การแยกประเภทของ Refrigeratorและ chiller
จะแยกประเภทตามการใช้งาน
โดย refrigerator จะใช้ในงาน ห้องเย็น อุณหภูมิตั้งแต่ 20 C ลงมาเพื่อรักษาคุณภาพอาหาร
และ chiller ( เครื่องทำความเย็น ) จะใช้ในระบบปรับอากาศ อุณหภูมิตั้งแต่ 20 C ขึ้นไปเพื่อปรับอากาศให้รู้สึกเย็นสบาย 
.........................................................................................................................
การอนุรักษ์พลังงานที่จะทำได้ในระบบ Chiller ที่นิยมทำกัน

1. Condenser และ Evaporator ต้องสะอาด ไม่มีตะกรันและพวก Biofilm เกาะติด เพื่อการรแลกเปลี่ยนความร้อน/เย็นได้ดีที่สุด ทั้งนี้วิธีการดูแลความสะอาดนั้นมีหลากหลายวิธีมากเช่นล้าง,ใช้เคมีปรับปรุงสภาพน้ำ,Ball Cleaning ฯลฯ
2. ลองสำรวจอุณหภูมิน้ำเย็นที่เราต้องการใช้งานจริง ๆ แล้วเผื่อเอาไว้แต่พอสมควร เพราะส่วนมากวิศวกรผู้ดูแลระบบชอบปรับไว้ให้ต่ำ ๆ เอาไว้ก่อน (กันถูกด่า) ตรงนี้ก็ช่วย save ไปได้มาก
3. ปั๊มหมุนเวียนน้ำ (circulation pump) อันนี้ต้องทราบ flow rate น้ำที่ต้องการจริง ๆ เสียก่อน หาก Over size เกินไปก็เลือกเอาว่าจะใช้วิธีการ เจียรตัดใบพัดปั๊มหรือจะใช้ Inverter ควบคุมความเร็วรอบปั๊ม (แต่ขอแนะนำให้ใช้ Inverter จะดีกว่า เพราะเจียรใบปั๊มนั้นจะใช้ได้ตามสภาพนั้น ๆ เพียงสภาพเดียว หากอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงระบบหรือเกิดสึกหรอขึ้นก็ต้องเปลี่ยนสถานเดียว แต่ Inverter มีความ Flexible ในการใช้งานมากกว่า)
4. ปั๊มสูบจ่ายน้ำ (Supply Pump) อันนี้ก็พิจารณาเช่นเดียวกับ Circulation Pump แต่ตัวนี้จะมีขนาดใหญ่กว่ามาก ถ้าคิดให้รอบคอบหน่อยจะเกิดผลประหยัดอย่างมากและคืนทุนเร็วมาก (ของผมติด Inverter กับ Pump 40 Hp 2 ตัว ลงทุนไปประมาณสี่แสนบาทใช้เวลาเกือบ 4 เดือนคืนทุนแล้ว)
5. เปลี่ยนเครื่องใหม่ (กรณีที่วัดสำรวจแล้วว่าค่า kW/Tr ที่ทำได้มากกว่า 2 kW/Tr) เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดแม้จะต้องจ่ายเยอะก็ตาม เพราะเครื่องรุ่นใหม่ ๆ ทุกวันนี้ประสิทธิภาพสุดยอดมาก ถ้าใช้ Screw Compressor ก็ประมาณ 0.8-0.9 kW/Tr แต่หากเป็น Centifugal Compressor ก็ดีขึ้นอีกอาจใช้พลังงานน้อยเพียง 0.5-0.6 kW/Tr
6. หากเป็นเครื่อง Air Cooled Chiller ก็พยายามตั้งเครื่องไว้ในที่อุณหภูมิแวดล้อม (Ambient Temp.) น้อย ๆ ยิ่งน้อยยิ่งดี และติดปล่องให้อากาศถ่ายเทเอาความร้อนไปทิ้งได้สะดวก หากตั้งเครื่องในที่โล่งแจ้งก็หาหลังคามาช่วยบังแดดให้ Condenser ในเวลาที่แดดส่องถึงโดยตรง ส่วนวิธีการเอาน้ำมาสเปรย์ผ่าน Filling ก่อนเข้า Condenser นั้นไม่อยากแนะนำ เพราะอาจทำให้ Condenser ของคุณผุกร่อนอย่างสาหัสได้



Chiller ระบบปรับอากาศด้วยพลังน้ำเย็น