ReadyPlanet.com
bulletแอร์ CARRIER
bulletแอร์ CENTRAL
bulletแอร์ DAIKIN
bulletแอร์ EMINENT
bulletแอร์ FUJITSU
bulletแอร์ FOCUS
bulletแอร์ Haier
bulletแอร์ PANASONIC
bulletแอร์ LG
bulletแอร์ MITSUBISHI
bulletแอร์ MITSUBISHI
bulletแอร์ Midea
bulletแอร์ MITSUI
bulletแอร์ SAMSUNG
bulletแอร์ SHARP
bulletแอร์ STAR AIRE
bulletแอร์ TCL
bulletแอร์ TRANE
bulletแอร์ TOSHIBA
bulletแอร์ UNI AIRE
bulletแอร์ YORK
bulletแอร์เคลื่อนที่
bulletม่านอากาศ
bulletเครื่องทำน้ำเย็น
bulletเครื่องฟอกอากาศ
bulletเครื่องทำน้ำอุ่น
bulletแอร์มุ้ง
ไลน์ เพิ่มเพื่อน
dot
พัดลมดูดอากาศ Ventilators Fan
dot
bulletMITSUBISHI แบบติดผนัง
dot
เครื่องใช้ไฟฟ้า,บริการผ่อน
dot
bulletแอร์เก่าของคุณมีค่า
bulletกล้องวงจรปิด CCTV
bulletแอร์ตั้งพื้น 13-24000BTU
bulletผ่อนแอร์10งวด 0%
bulletเครื่องซักผ้า Panasonic
bulletเครื่องทำน้ำอุ่น Panasonic
bulletSite Reference
dot
dot
bulletยินดีต้อนรับ ร้านค้าผู้จำหน่าย
bulletChat Online
bulletTechnology IT
bulletนานา สาระน่ารู้
bulletsite map
bulletรายชื่อขนส่งสินค้า ไปต่างจังหวัด
bulletช่างประจำเขต
bulletโปรโมชั่น
bulletบิล 2021
dot
dot
dot
ร้านค้าสมาชิก ท๊อปคูลแอร์
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
สมัครรับข่าวสาร

dot


ยินดีรับบัตรเครดิตทุกธนาคาร
บริการชำระด้วยบัตรเครดิต ถึงสถานที่ติดตั้ง สะดวกสบาย
รับสมัครงาน  พนักงานขาย  ช่างติดตั้ง


แอร์ท่อดักค์ ในบ้าน และสำนักงาน article

ปัญหาที่พบเกี่ยวกับเรื่องเครื่องปรับอากาศสำหรับบ้านขนาดใหญ่ๆ คือ มีเครื่องเป็นจำนวนมากและมักไม่มีที่ตั้ง CDU (Condensing Unit) หรือที่เรียกว่าคอยล์ร้อนที่อยู่นอกบ้าน เนื่องจากเจ้าตัว CDU ต้องการอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และต้องมีการเว้นที่ว่างรอบตัวเพื่อสะดวกในการบำรุงรักษา นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดเรื่องความยาวท่อน้ำยา บ่อยครั้งที่ที่เหมาะสมสำหรับตั้ง CDU จึงมาลงเอยที่ระเบียง ซึ่งแต่เดิมสถาปนิกออกแบบไว้ให้เป็นที่ที่เจ้าของบ้านออกไปรับลม ถ้าห้องใดไม่มีระเบียง เจ้า CDU นี้ก็จะถูกนำไปแขวนติดไว้กับผนังรอบๆบ้าน ซึ่งก็แลดูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยนัก เจ้าของบ้านส่วนใหญ่มักจะไม่ชอบ แต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่น

ระบบแอร์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับบ้านที่มีเครื่องปรับอากาศหลายๆเครื่อง แต่ไม่ต้องการวาง CDU ไว้ที่ระเบียงหรือแขวนไว้ตามผนังบ้าน

วิธีการแรกเป็นวิธีการดั้งเดิมที่ใช้ในการแก้ปัญหาการเดินท่อน้ำยาไกลๆ และลดพื้นที่ตั้งเครื่องแอร์ คือระบบน้ำเย็น ซึ่งใช้เครื่องทำน้ำเย็น ผลิตน้ำเย็นแล้วส่งตามท่อน้ำเข้าไปในอาคาร (แทนที่จะเดินท่อน้ำยาเข้าไป)

ส่วนอีกวิธีหนึ่งเป็นความพยายามของบริษัทญี่ปุ่นที่พยายามพัฒนาระบบเดินท่อน้ำยาให้ได้ไกลขึ้น และพัฒนาให้สามารถใช้เครื่อง CDU เครื่องเดียวต่อกับเครื่อง FCU (Fan Coil Unit) หรือที่เรียกว่าคอยล์เย็น ที่อยู่ภายในบ้านได้หลายๆเครื่อง

ระบบน้ำเย็น

ระบบน้ำเย็นจะประกอบด้วยเครื่องทำน้ำเย็น ทำหน้าที่ผลิตน้ำเย็นออกมาที่อุณหภูมิ 7 องศาเซลเซียส มีเครื่องสูบน้ำเย็นทำหน้าที่ส่งจ่ายน้ำเย็นไปที่เครื่อง FCU ผ่านทางท่อน้ำเย็น เครื่องทำน้ำเย็นอาจมีมากกว่าหนึ่งเครื่องก็ได้ เพื่อมีสำรองไว้กรณีที่เครื่องหนึงเสีย หรือ ต้องซ่อมบำรุง หรือในกรณีที่เป็นระบบขนาดใหญ่ก็อาจต้องแบ่งเครื่องทำน้ำเย็นเป็นเครื่องเล็กๆหลายเครื่อง

หลักการทำงานของเครื่องทำน้ำเย็นก็เหมือนกับเครื่องปรับอากาศทั่วๆไป แต่แทนที่จะเป่าลมเย็นออกมา ก็ส่งน้ำเย็นออกมา

FCU จะทำหน้าที่ทำให้อากาศเย็นลง เช่นเดียวกับ FCU ทั่วๆไป เพืยงแต่ใช้ความเย็นจากน้ำเย็น แทนที่จะเป็นน้ำยา อุณหภูมิลมเย็นที่ออกจาก FCU โดยทั่วไปจะอยู่ช่วงประมาณ 13-15 องศาเซลเซียส

วิธีการควบคุมความเย็นของระบบน้ำเย็น จะใช้วิธีปิดวาล์วน้ำเย็นหากมีความเย็นเพียงพอแล้ว (เทียบได้กับการตัดคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศทั่วไป)

ระบบน้ำเย็นมีข้อดีคือ มีเครื่องที่ตั้งอยู่นอกบ้านเพียงชุดเดียว จึงแก้ปัญหาเรื่องที่ตั้ง CDU จำนวนมากของแอร์ธรรมดาไปได้ ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือ สามารถเดินท่อน้ำเย็นไปได้ไกลโดยไม่มีข้อจำกัดเหมือนท่อน้ำยา

ข้อเสียสำหรับระบบแบบนี้ก็คือ การบำรุงรักษาค่อนข้างยุ่งยาก และเป็นระบบที่ซื้อของมาจากผู้ผลิตหลายๆบริษัท เวลามีปัญหาจึงต้องหาจุดที่เกิดปัญหาให้พบก่อนที่จะแจ้งให้บริษัทของของที่มีปัญหาเข้ามาซ่อมแซม ข้อเสียเปรียบอีกประการของระบบนี้คือ มีแบบ FCU ให้เลือกน้อย คือมีเพียงแบบแขวนฝ้า/ตั้งพื้น และแบบคอยล์เปลือยซ่อนในฝ้า (ไม่มีแบบติดผนังและฝังฝ้า) หรือมิฉะนั้นก็จะต้องเป็นเครื่องตั้งพื้นขนาดใหญ่ๆไปเลย

ระบบน้ำยารวมศูนย์

ระบบนี้จะประกอบไปด้วย CDU ท่อน้ำยา และ FCU หลักการทำงานของระบบคล้ายกับแอร์สปลิททั่วไป เพียงแต่ CDU หนึ่งชุด สามารถต่อกับ FCU ได้หลายชุด

ตัว CDU ของระบบนี้มีส่วนประกอบภายในใกล้เคียงกับแอร์ทั่วไป คือ มีคอมเพรสเซอร์ คอยล์ระบายความร้อน และพัดลมระบายความร้อน แต่การควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์แตกต่างกับเครื่องปรับอากาศทั่วไป ซึ่งใช้การตัดต่อการทำงานของคอมเพรสเซอร์ แต่เครื่องแบบนี้จะใช้การหรี่การทำงานของคอมเพรสเซอร์ด้วยอินเวอร์เตอร์ (ลดความเร็วรอบมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์) แทน

เทคนิคที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การแยกน้ำมันออกจากน้ำยา ปกติแล้วในคอมเพรสเซอร์จะต้องมีน้ำมันหล่อลื่นเพื่อป้องกันการสึกหรอของชิ้นส่วนโลหะภายใน ในเครื่องปรับอากาศปกติ น้ำยาที่ผ่านเข้าไปในคอมเพรสเซอร์จะพาเอาน้ำมันส่วนหนึ่งออกมาจากคอมเพรสเซอร์ และก็จะพากลับไปที่คอมเพรสเซอร์เมื่อน้ำยาวนกลับไป แต่ในระบบที่ใช้อินเวอร์เตอร์ ซึ่งมีการหรี่การหมุนเวียนของปริมาณน้ำยา ถ้าไม่มีการป้องกันที่ดีแล้ว น้ำมันก็จะตกค้างอยู่ตามที่ต่างๆในระบบโดยไม่กลับมาที่คอมเพรสเซอร์ ซึ่งจะทำให้คอมเพรสเซอร์ชำรุดเสียหายในที่สุด ดังนั้นเครื่องที่ควบคุมด้วยอินเวอร์เตอร์จึงต้องมีเครื่องแยกน้ำมันออกจากน้ำยาที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อดักน้ำมันไม่ให้ออกไปจากคอมเพรสเซอร์ นอกจากนี้ก็ยังจะต้องมีวิธีตามเก็บน้ำมันที่ยังเล็ดลอดออกไปด้วย เช่น สั่งให้เครื่องทำงานเต็มที่เป็นระยะๆเพื่อหมุนเวียนน้ำยาปริมาณมากๆออกไปเก็บน้ำมันกลับมาที่คอมเพรสเซอร์ (ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่สามารถนำอินเวอร์เตอร์มาใช้กับเครื่องปรับอากาศที่ไม่ได้ออกแบบเป็นพิเศษได้)

ข้อดีของระบบน้ำยารวมศูนย์ก็เช่นเดียวกับระบบน้ำเย็น คือ ติดตั้ง CDU เพียงจุดเดียว จึงแก้ปัญหาเรื่องที่ตั้ง CDU ขนาดเล็กๆหลายๆที่ไปได้ อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ยังคงมีข้อจำกัดความยาวของท่อน้ำยาว่าจะต้องไม่เกิน 100 เมตร (แต่ก็เพียงพอสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยทั่วๆไป)

นอกจากนี้ การควบคุมของระบบสามารถที่จะต่อเชื่อมถึงกันและรวมศูนย์การควบคุมได้โดยการติดตั้งแผงควบคุมส่วนกลาง ซึ่งสามารถสั่งเปิด-ปิด ตั้งอุณหภูมิ และตั้งเวลาการทำงานของเครื่อง FCU ทุกเครื่องในระบบได้ และเนื่องจากเครื่อง CDU, FCU และอุปกรณ์ควบคุมทั้งหมดมาจากบริษัทเดียว เมื่อมีปัญหาจึงหาผู้รับผิดชอบได้ง่าย

ข้อเสียเปรียบของระบบนี้ คือ หากมีท่อน้ำยารั่วจะหาจุดรั่วได้ลำบาก ต่างจากระบบน้ำเย็น ซึ่งเมื่อเกิดการรั่วก็จะพบเห็นน้ำรั่วออกมา และสามารถซ่อมแซมได้ แต่น้ำยาจะกลายสถานะเป็นแก๊ส จึงไม่สามารถหาจุดรั่วได้ ยกเว้นนำน้ำสบู่ไปลูบตลอดแนวท่อ ดังนั้นการติดตั้งท่อน้ำยาจะต้องมีการควบคุมอย่างใกล้ชิด และมีการทดสอบด้วยการอัดความดัน จนแน่ใจว่าไม่มีรอยรั่ว จึงจะปิดฝ้าหรือช่องท่อได้

ตารางเปรียบเทียบ

รายละเอียด ระบบน้ำเย็น ระบบน้ำยารวมศูนย์
1. เครื่องภายนอก เครื่องทำความเย็น CDU (คอมเพรสเซอร์และคอยล์ร้อน)
2. เครื่องภายในบ้าน มีให้เลือก 2 แบบ คือ แขวนฝา/ตั้งพื้น และคอยล์เปลือยซ่อนในฝ้า มีให้เลือกหลายแบบ เช่น แขวนฝ้า/ตั้งพื้น คอยล์เปลือยซ่อนฝ้า ฝังในฝ้า ติดผนัง
3. ท่อ ใช้ท่อได้หลายชนิด แต่ส่วนใหญ่จะใช้ท่อเหล็กหุ้มด้วยฉนวนยาง ใช้ท่อทองแดงหุ้นด้วยฉนวนยาง
4. ระบบควบคุม ระบบควบคุมเครื่องทำน้ำเย็นและเครื่อง FCU แยกกันอิสระ ระบบควบคุมของ CDU และ FCU ต่อเชื่อมถึงกันทั้งระบบ สามารถทำแผงควบคุมส่วนกลางได้
5. จุดเด่น ตั้งเครื่องภายนอกจุดเดียว หาจุดท่อน้ำรั้วได้ง่าย ตั้งเครื่องภายนอกจุดเดียว ระบบควบคุมต่อเชื่อมถึงก้นทั้งหมด
6. จุดด้อย ระบบควบคุมแยกจากกัน ทำให้ทำงานไม่สะดวก หาจุดน้ำรั่วได้ยาก
7. ผลิตภัณฑ์ Carrier, U.S.A.
Sinko, Japan
Trane, U.S.A.
Uni-Air, Thailand
York, U.S.A.
Daikin, Japan
Mitsubishi, Japan
8. ราคาโดยประมาณ 50,000 - 70,000 บาทต่อตัน 70,000 - 80,000 บาทต่อตัน
หมายเหตุ : * - ราคานี้เป็นราคารวมค่าของและค่าติดตั้งทั้งระบบ
                   - เครื่องปรับอากาศแยกส่วนแบบธรรมดา ราคาประมาณ 30,000 - 40,000 บาทต่อตัน
                   - ประมาณราคาที่อัตราแลกเปลี่ยน 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

จะเห็นได้ว่าระบบแอร์แบบรวมศูนย์มีราคาแพงกว่าการติดแอร์ธรรมดาหลายๆ เครื่องประมาณเกือบสองเท่า ทั้งนี้เพราะประมาณการผลิตที่น้อยกว่าและเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า จึงทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง

สรุป

เมื่อมีปัญหาไม่มีทั้งตั้ง CDU ในกรณีที่มีเครื่องปรับอากาศหลายๆ เครื่องมีทางแก้ได้ 2 วิธี คือ ใช้ระบบน้ำเย็นไหลใช้ระบบน้ำยารวมศูนย์ ซึ่งทั้งสองก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือราคาแพงกว่าติดแอร์ธรรมดาประมาณสองเท่า ดังนั้นหากไม่มีความจำเป็นทางด้านพื้นที่ที่ตั้งจริงๆ ก็ไม่ควรนำมาใช้ นอกจากนี้หากมีการจัดเตรียมที่ติดตั้ง CDU ไว้ตั้งแต่ในการออกแบบบ้านทีแรก ก็จะหลีกเลี่ยงปัญหาที่ตั้ง CDU ได้ไม่ต้องนำ CDU ไปวางไว้ที่ระเบียง เจ้าบ้านจะได้มีโอกาสนั่งเล่นที่ระเบียงบ้านที่ไม่มีเสียงดังรบกวน สมกับความตั้งใจที่ออกแบบไว้




ศูนย์บริการติดตั้ง ภายใน24ชั่วโมง

เครื่องทำน้ำเย็น article
เครื่องทำน้ำอุ่น article
เครื่องฟอกอากาศ article
ค่าติดตั้งแอร์ article
ค่าล้างแอร์ article
ค่าซ่อมรั่วเครื่องปรับอากาศ
ค่าบริการเปลื่ยนคอมเพรสเซอร์ article
ค่าบริการล้างแอร์ รายครั้ง article
บริการล้างแอร์แบบเหมาจ่ายรายปี article
ค่าเปลื่ยน มอเตอร์เครื่องปรับอากาศ
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศ article
contact 1
การเลือกขนาดสายไฟฟ้ากับเครื่องปรับอากาศ
ค่าบริการล้างแอร์ article
การเลือกเครื่องปรับอากาศ article
ติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้โรงเรียนสังกัด กทม101 แห่ง article
10 วิธีประหยัดไฟฟ้า แบบได้ผลสูงสุด article
การคำนวณค่าไฟฟ้า article
เครื่องปรับอากาศระบบน้ำเย็น article
คู่มือการซื้อและการใช้ : เครื่องปรับอากาศ article
การลดสภาวะเครื่องปรับอากาศเพื่อประหยัดพลังงาน article
เครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ (INVERTER) article
หลักการชาร์จน้ำยาเข้าระบบ article
คำถามยอดฮิต FAQ article
วิธีการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ article
การคำนวณ บีทียู article
การประหยัดพลังงานของ "เครื่องปรับอากาศ" article
เทคนิคการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบคาสเซ็ต article
ข้อแนะนำการเลือกซื้อแอร์บ้าน article